ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ก่อนเชื่อ! ทำไมต้อง “สาธุ” "สาธุ99" เพราะเป็น “คำดี” อย่างนี้นี่เอง  (อ่าน 434 ครั้ง)

raktam

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 27
    • ดูรายละเอียด


ยุคนี้คำว่า “สาธุ” ไม่ใช่เพียงคำกล่าวจากปากพระสงฆ์หรือฆราวาส แต่ยังเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแสดงความคิดเห็นผ่านคอมเมนต์ทางโซเชียล ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องทางศาสนา จนหลายคนมองว่าผู้ที่พิมพ์ “สาธุ สาธุ สาธุ” รวมถึง “สาธุ 99” คำที่มีเลขมงคลต่อท้าย เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อเฉพาะ บ้างถูกชี้ถึงขั้นว่าเป็นผู้ที่ “งมงาย” แต่เมื่อขุดค้นรากศัพท์จะพบว่า คำกล่าว “สาธุ” นั้น มีความชัดเจนโดยเจตนา ด้วยมีความหมายและมีที่มาที่ไปซึ่งควรรู้ไว้ก่อนเชื่อหรือทำตามกัน

“สาธุ” หมายถึงอะไร
สาธุ เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี ถูกต้อง ยอดเยี่ยม ประสบผลสำเร็จ ทั้งในภาษาบาลีและสันสกฤต ใช้คำว่า สาธุ เป็นคำแสดงว่า เห็นด้วยกับเรื่องที่พูดหรือสิ่งที่ทำ หรือใช้ในประโยคคำสั่งหรือขอร้องเพื่อแสดงความสุภาพ

ในบริบททางศาสนา คำว่าสาธุ กล่าวไว้ในคัมภีร์พระสูตรในหลายเหตุการณ์ กล่าวเฉพาะในสังคมไทยปัจจุบัน คำว่า สาธุ เป็นคำที่พระภิกษุสงฆ์ใช้เปล่งเพื่อแสดงว่า เห็นด้วย ยอมรับว่าเหมาะสมดีงาม ฆราวาสมักเปล่งคำนี้เมื่อฟังเทศนาจบ หรือเมื่อพระให้พร ส่วนพระสงฆ์จะเอ่ยคำ สาธุ ออกมาพร้อมกันเพื่อแสดงว่ารับรองมติของที่ประชุมสงฆ์หรือรับรองพิธีกรรมหรือสังฆกรรมที่เพิ่งทำเสร็จสิ้นไป

เช่น ในพิธีทอดกฐิน เมื่อเจ้าภาพกล่าวคำถวายผ้ากฐินแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจะถามว่าควรจะมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใด  ภิกษุอีกรูปหนึ่งจะเสนอชื่อภิกษุที่สมควรได้รับผ้ากฐิน เมื่อที่ประชุมสงฆ์มีมติเห็นชอบที่จะมอบให้แก่ผู้นั้นแล้ว จะกล่าวพร้อมกันว่า สาธุ.  ในการถวายสังฆทาน เมื่อผู้ถวายกล่าวคำถวายสังฆทานแล้ว พระสงฆ์จะกล่าวว่า สาธุ.

ข้อมูลได้จาก sanook
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://heylink.me/register123s/ <<<