เทศบาลนครขอนแก่นมอบโล่ขอบคุณและเกียรติบัตรให้กับเครือข่ายในการร่วมนำเสนอรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565 ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมนครเป็งจาล เทศบาลนครขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เป็นประธานในพิธีมอบโล่ขอบคุณและเกียรติบัตรให้กับเครือข่ายในการร่วมนำเสนอรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565 “ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม” โดยมี รองนายกเทศมนตรี (นายมนตรี สิงหปุณณภัทร, ดร.อรอนงค์ แสวงการ), เลขานุการนายก (นายณัฐกร ศรีนวกุล, นายธนกฤษ ลิ้มติยะกุล, นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเรือง), ว่าที่ ร.ต.บัญชา สิงห์คำป้อง สมาชิกสภาเทศบาล, นายวิทยา ภูโยสาร ปลัดเทศบาล, รองปลัดเทศบาล (นางอารีย์ สุรารักษ์, ดร.ภาษิต ชนะบุญ), นางสาวศิริกัลยา โพธิ์จันทร์ ผอ.สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม, นางปริญดา เอียสกุล ผอ.สำนักสวัสดิการสังคม, นางอินทิรา ฆารเจริญ ผอ.กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ, นายทัศนัย ประจวบมอญ ผอ.ส่วนส่งเสริมสาธารณสุข, นางสาวสมพร ชัยอยุทธ์ ผอ.ส่วนบริการสาธารณสุข, , ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น, หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาล, อสม., ครูและพนักงานเทศบาลเข้าร่วมในพิธี โดยมีตัวแทนเครือข่ายในการร่วมนำเสนอรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565 ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ได้แก่ นายศักรินทร์ แก้วเฮ้า นายแพทย์เชี่ยวชาญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์อาคม บุญเลิศ ประธานที่ปรึกษาด้านพัฒนาคุณภาพบริการ หน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม, นางสายชล สิงห์สุวรรณ ประธานมูลนิธิขอบฟ้ากว้าง, แพทย์หญิงวัลลภา บุญพรหมมา กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลขอนแก่น, นายแพทย์นิทิกร สอนชา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น, ว่าที่ร้อยตรีดิน ศุภวัฒน์ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) เขตพื้นที่ภาคอีสาน สขาขอีสานตอนกลาง, นางสาวรติอร พรกุนา หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ รพ.ขอนแก่น, ตัวแทน (สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น, หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ชุมชนเมืองชาตะผดุง, ชุมชนเมืองมิตรภาพ,ชุมชนเมืองประชาสโมสร, ศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุพระธรรมวิสุธาจารย์, หน่วยปฐมภูมิสามเหลี่ยม) และตัวแทนหน่วยงานเครือข่าย เข้าร่วมรับโล่ขอบคุณและเกียรติบัตร สำหรับการประกวดรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2565 ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์นั้น เทศบาลนครขอนแก่นได้นำเสนอโครงการ / กิจกรรม จำนวน 3 เรื่อง คือ 1.โครงการห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง (ตามโครงการหนึ่งโรงเรียนสองระบบ) สายชั้นห้องเรียนขอบฟ้ากว้างห้องเรียนพิเศษทำให้เด็กที่แตกต่างสามารถอยู่ในรั้วโรงเรียนเดียวกันกับเด็กทั่วไปได้ พัฒนาทักษะชีวิต เห็นคุณค่าตนเอง ค้นพบความถนัด เสริมสร้างประสบการณ์ สร้างงานอาชีพ 2.การพัฒนาระบบการดูแลเด็กที่มีปัญหาการเรียน โดย ครู-หมอ-พ่อแม่ ต่อยอดจากโครงการห้องเรียนขอบฟ้ากว้าง เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา เด็กทุกคนต้องได้รับการดูแลตามศักยภาพ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น และเทศบาลนครขอนแก่น โดยได้นำ Application : Scholl Health HERO ใช้ในการคัดกรองเด็ก 3.การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างยั่งยืน (Sustainable Long Term Care) มีหน่วยบริการปฐมภูมิจำนวน 8 ศูนย์ ภายใต้การขับเคลื่อนการทำงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1. ต้นน้ำ มีการคัดกรอง ป้องกัน มีฐานข้อมูล ระบุสภาพปัญหาทุกคนได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุฯ 2. กลางน้ำ การดูแล รักษา ฟื้นฟู เยียวยา พัฒนาศักยภาพจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ CG, CC, PA , อสม. 3.ปลายน้ำ การถอดบทเรียน / ถ่ายทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมอาชีพคนพิการ การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต ( Palliative Care ) ทั้งนี้ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่นได้กล่าวขอบคุณหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชน และพี่น้องชุมชน ที่ได้ให้ความร่วมมือและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตรวจสอบ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นมากที่สุด ตลอดจนสามารถได้รับรางวัลเป็นเครื่องหมายการันตีถึงการพัฒนาบ้านเมืองไปในทิศทางที่ชัดเจนและถูกต้อง โดย ในปี 2567 เทศบาลนครขอนแก่นมีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลพระปกเกล้าทองคำด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เนื่องจากภายใน 5 ปี ติดต่อกันเทศบาลนครขอนแก่นได้รับรางวัลพระปกเกล้าด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จำนวน 2 ครั้ง คือ ปี 2564 และ ปี 2565 อนึ่ง เทศบาลนครขอนแก่น ได้ส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลพระปกเกล้า ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 จนถึง พ.ศ. 2565 ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม 3.ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ 4. ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเทศบาลได้รับรางวัลรางวัลพระปกเกล้า ครบทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำนั้น เทศบาลได้รับรางวัล 3 ด้าน (1.ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม 3.ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์) เทศบาลนครขอนแก่นจึงขอสรุปผลการประกวดรางวัลพระปกเกล้า ( 22 ปี 12 รางวัล) ดังนี้ -ปี พ.ศ.2544 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน -ปี พ.ศ.2546 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน -ปี พ.ศ.2549 รางวัลพระปกเกล้าทองคำ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน -ปี พ.ศ.2553 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ -ปี พ.ศ.2554 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม -ปี พ.ศ.2557 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม -ปี พ.ศ.2558 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ -ปี พ.ศ.2559 รางวัลพระปกเกล้าทองคำ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม -ปี พ.ศ.2562 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ -ปี พ.ศ.2563 รางวัลพระปกเกล้าทองคำ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ -ปี พ.ศ.2564 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม -ปี พ.ศ.2565 รางวัลพระปกเกล้า สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ท้ายสุดนี้เทศบาลนครขอนแก่นขอขอบคุณภาคีเครือข่ายเป็นอย่างสูงในความร่วมมือในการร่วมนำเสนอรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565 ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

แสดงความคิดเห็น