ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทศบาลนครขอนแก่น

สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลนครขอนแก่น

ประวัติเทศบาลนครขอนแก่น

    เทศบาลนครขอนแก่น เดิมได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง โดยพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้ง เทศบาลเมืองขอนแก่น มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2478

       นายกเทศมนตรีคนแรก คือ พระเสนาราชภักดี เข้าดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2478 ก่อนได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองตามพระราชกฤษฎีกา 2 เดือน ศาลาเทศบาลเมืองขอนแก่นตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุแปลงที่ตั้งศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในขณะนั้นอยู่ทางทิศใต้ด้านตะวันตกของถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น ตรงข้ามกับสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ.2492 จึงได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ในที่ดินแปลงที่ตั้งสถานีอนามัยและสถานีดับเพลิงด้านตะวันออก ของถนนกลางเมือง อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน มาจนถึง พ.ศ.2508 เป็นเวลา 16 ปี ต่อมา กระทรวงมหาดไทย ให้สำนักงานเทศบาลเมืองขอนแก่นใช้อาคารร่วมกับอำเภอเมืองขอนแก่น ซึ่งได้ย้าย มาอยู่ ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2508 จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2527 รวมเป็นเวลา 19 ปี ใน พ.ศ.2527 สำนักงานเทศบาลนครขอนแก่นได้ก่อสร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 3/3 ถนนประชาสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยได้เปิดทำการตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2527 จนถึงปัจจุบัน                เมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองขอนแก่น พ.ศ.2478 เขตเทศบาลมีพื้นที่ 4.031 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                                            ทิศเหนือ         จรด      ตำบลศิลา

                                            ทิศใต้            จรด      ตำบลกุดกว้าง

                                            ทิศตะวันออก    จรด      ตำบลพระลับ , ตำบลหนองแสง

                                            ทิศตะวันตก      จรด      ตำบลเมืองเก่า

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเทศบาลออก ให้ครอบคลุมพื้นที่ มากขึ้น ปัจจุบันมีพื้นที่ 46 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

                                            ทิศเหนือ         จรด       ตำบลศิลา

                                            ทิศใต้            จรด       ตำบลเมืองเก่า

                                            ทิศตะวันออก    จรด       ตำบลพระลับ

                                            ทิศตะวันตก      จรด       ตำบลบ้านเป็ด

         ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครขอนแก่นได้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน 2538

และมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 เป็นต้นไป

 

สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลนครขอนแก่น

ที่ตั้งและอาณาเขตของเทศบาลนครขอนแก่น

          เทศบาลนครขอนแก่นมีพื้นที่ 46 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอน บนของประเทศไทยระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 16.8 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 112 องศา 27.8 ลิปดา 00 ฟิลิปดาตะวันออก มีระยะห่างจากกรุงเทพประมาณ 445 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขต ติดต่อดังนี้

              หลักเขตที่ 1 : อยู่ตรงมุมตะวันตกของเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านเหนือ

ด้านเหนือ

            จากหลักเขตที่ 1 : เป็นเส้นเลียบตามแนวเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านเหนือไปทางทิศ ตะวันออกถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ฟาก ตะวันตก

            จากหลักเขตที่ 2 : เป็นเส้นตรงทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 300 เมตร

ด้านทิศตะวันออก

            จากหลักเขตที่ 3 : เป็นเส้นขนาน 300 เมตร กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่เขตริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือฟากตะวันออก

            จากหลักเขตที่ 4 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ ริมถนนกสิกรทุ่งสร้าง ฟากตะวันออก

            จากหลักเขตที่ 5 : เป็นเส้นเลียบตามแนวเขตกองพันทหารม้าที่ 6 ด้านทิศตะวันตกและด้าน ทิศใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหลักเขตที่ 5 ตามแนวเขต กองพันทหารม้าที่ 6 ระยะ 3,200 เมตร

            จากหลักเขตที่ 6 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไป บ้านโคกกลางฟากใต้ ห่างจากศูนย์กลางถนนประชาสโมสรตามแนวถนนไปบ้านโคกกลางระยะ 1,400 เมตร

           จากหลักเขตที่ 7 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมหนอง เลิงเปือยด้านเหนือ ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 ต่อเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น ครอบคลุม –ยางตลาด ตรงกิโลเมตร 3 + 700 ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 700 เมตร

           จากหลักเขตที่ 8 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมหนองเลิงเปื่อยด้านเหนือ ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 ต่อเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นครอบคลุม –ยางตลาด

           จากหลักเขตที่ 9 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 209 ต่อเขตเทศบาลเมืองขอนแก่นครอบคลุม – ยางตลาด ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 700 เมตร

ด้านทิศใต้

           จากหลักเขตที่ 10 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางไป บ้านดอนบมฟากตะวันออกห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรีหนองคาย (เขตแดน) สายเดิม ตามแนวระยะทาง 800 เมตร

           จากหลักเขตที่ 11 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางสาย ตะวันออกเฉียงเหนือฟากตะวันตก ตรงกิโลเมตร 446 + 500

           จากหลักเขตที่ 12 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ริมทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 300 เมตร

           จากหลักเขตที่ 13 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก ศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ตามแนวเส้นตั้งฉากระยะ 300 เมตร

ด้านตะวันตก

         จากหลักเขตที่ 14 : เป็นเส้นขนานระยะ 300 เมตร กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สระบุรี – หนองคาย (เขตแดน) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 15 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2131 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ( ขอนแก่น ) บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2062 (เหล่านาดี) ฟากใต้

        จากหลักเขตที่ 15 : เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 16 ซึ่งตั้งอยู่ริมทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตาก –ขอนแก่น ฟากเหนือตรงมุมใต้ของเขตมหาวิทยาลัยด้านตะวันตก

         จากหลักเขตที่ 16 : เป็นเส้นเลียบตามแนวเขต มหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านตะวันตกไปทาง ทิศเหนือ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง