ผู้เขียน หัวข้อ: รวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้า  (อ่าน 550 ครั้ง)

miyeon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 128
    • ดูรายละเอียด
 
ทุกคนรู้ไหมว่าก่อนที่เราจะเห็นรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันมาโลดแล่นบนท้องถนนได้นั้น รถคันดังกล่าวจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อให้ผู้ขับขี่มั่นใจว่าหลังจากใช้งานไปแล้ว ระบบต่างๆ จะไม่เกิดอาการขัดข้องจนเป็นอันตรายกับตัวผู้ขับขี่ และเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในช่วงไม่กี่ปีให้หลังอย่างรถยนต์ไฟฟ้ากันให้มากขึ้น  วันนี้เราจึงอยากจะมาพูดถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนของการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบไปพร้อมๆ กันกว่าก่อนที่จะนำออกมาวางจำหน่ายได้นั้น รถยนต์แต่ละคันจะต้องผ่านบททดสอบทั้งในส่วนของประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยแบบไหนบ้าง ว่าแต่รายละเอียดทั้งหมดจะเป็นยังไง และจะน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูกันเลย
 

การทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร?
 
จริงๆ วัตถุประสงค์หลักของการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าฟ้าคือการเสริมสร้างความมั่นใจให้ทั้งกับตัวผู้ผลิตรวมไปถึงผู้ขับขี่ว่ารถยนต์ทุกคันที่นำออกมาจำหน่ายตามโชว์รูมล้วนแล้วแต่ผ่านมาตรฐานด้านการผลิดทั้งในส่วนของคุณภาพและความปลอดภัยมาแล้วทั้งสิ้น
 
ตรวจสอบอะไรบ้าง?
 
การทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 การทดสอบย่อยด้วยกัน โดยการทดสอบทั้งหมดนี้จะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานด้วยการจำลองสภาพอากาศในแต่ละช่วงเพื่อเช็กผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการทำงานของตัวแบตเตอรี่และชิ้นส่วนต่างๆ ของรถ รวมไปถึงตรวจสอบสมรรถณะและความปลอดภัยในระหว่างขับขี่
 
การทดสอบจำลองสภาวะ
 
ทีมงานทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าจะทำการจำลองสภาพอากาศรวมไปถึงสถานการณ์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบว่าเมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตัวแบตเตอรี่และระบบภายในรถจะยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ และถ้าไม่ อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดข้อง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกนำมาใช้พัฒนาระบบทั้งหมดภายในรถยนต์ให้พร้อมที่สุดก่อนส่งต่อให้ผู้ขับขี่เป็นลำดับต่อไป
 
การทดสอบทางกล
 
ในส่วนนี้จะเป็นการทดสอบแรงกระแทกของรถยนต์เป็นหลัก โดยจะเริ่มจากการทดสอบความทนทานต่อการสั่นสะเทือน, การกระแทก, การขีดข่วน รวมไปถึงการระเบิดและการรั่วไหล เป็นต้น
 
การทดสอบด้านคุณภาพและความปลอดภัย
 
หลังจากทดสอบในส่วนของการจำลองสภาวะและการทดสอบทางกลแล้ว ลำดับต่อมา ทางคณะผู้ตรวจสอบจะนำรถยนต์ไปทดลองขับบนท้องถนนเพื่อเช็กดูว่าประสิทธิภาพและสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าคันดังกล่าวนั้นเป็นยังไง อะไรคือจุดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากจะทดสอบด้วยการขับขี่เองแล้ว ทางผู้ตรวจสอบยังจะต้องเปิดใช้งานระบบยานยนต์ไร้คนขับเพื่อสังเกตถึงปฏิกิริยาในการตอบสนองของรถว่าสามารถทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน และผ่านมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานยานยนต์หรือ ISO 26262 หรือไม่