ผู้เขียน หัวข้อ: 10 วิธีเลือกเก้าอี้ทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม  (อ่าน 156 ครั้ง)

miyeon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 153
    • ดูรายละเอียด
        สำหรับมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะท่าเดิม ๆ อยู่เป็นเวลานาน สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นออฟฟิศซิมโดรมคือ เราต้องลุกขึ้นมายืดแข้งยืดขา เดินไปเดินมา เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ คลายความตึกเครียดของกล้ามเนื้อเป็นประจำทุก ๆ 25 นาที และที่สำคัญคือต้องเลือกเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย เพื่อไม่ให้เรานั่งทำงานผิดท่า บทความนี้จึงจะมาบอก 10 วิธีเลือกเก้าอี้ทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม จะมีอะไรบ้างลองมาดูกัน


ทำตาม 10 วิธีนี้ รับรองได้เก้าอี้ทำงานที่ดี หลีกเลี่ยงออฟฟิศซิมโดรม
เก้าอี้ทำงานที่ดี เปรียบเสมือนอาวุธลับที่ช่วยให้เรานั่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรม และส่งเสริมสุขภาพที่ดี โดยมีวิธีเลือกเก้าอี้ที่ดี ดังนี้

1. ปรับความสูงของเก้าอี้ได้ : เลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับให้เท้าแตะพื้นเต็มฝ่าเท้า ต้นขาขนานกับพื้น หัวเข่าทำมุม 90 องศา

2. ปรับความลึกของเบาะนั่งได้ : ควรนั่งให้หลังพิงพนักพิง ขอบเบาะนั่งควรอยู่หลังหัวเข่าประมาณ 2-3 นิ้ว มีช่องว่างระหว่างหลังเข่ากับเบาะนั่งควรวางกำปั้นได้

3. เลือกพนักพิง : เลือกเก้าอี้ที่รองรับสรีระช่วงเอวและหลังส่วนล่าง จนถึงคอ ศีรษะตั้งตรง คอไม่เอียง ปรับเอนได้เล็กน้อย รองรับสรีระส่วนหลังให้โค้งตามธรรมชาติ ลดแรงกดทับกระดูกสันหลัง โดยควรปรับความสูงของพนักพิงและองศาได้ นอกจากนี้ควรมีโครงสร้างและวัสดุยืดหยุ่น รองรับสรีระ

4. ที่วางแขน : เลือกแบบที่ปรับความสูงและระดับของที่วางแขนได้ สามารถวางแขนให้ข้อศอกทำมุม 90 องศา รองรับแขนได้ดี เพื่อลดการเกร็งกล้ามเนื้อไหล่และคอ

5. วัสดุ : เก้าอี้ทำงานควรผลิตจากวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อมความร้อน เหมาะกับสภาพอากาศ อาจเป็นผ้าตาข่าย หนังแท้ หรือผ้าผสมสามารถรองรับสรีระได้ดี แม้มีความยืดหยุ่นแต่ไม่ยุบตัว และสามารถดูแลรักษาทำความสะอาดง่าย

6. กลไกการปรับ : เก้าอี้ทำงานที่ดีควรมีกลไกการปรับฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น ปรับความสูง ปรับความลึก ปรับเอน ปรับความสูงและองศาของพนักพิง โดยสามารถปรับใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ระบบล็อกมีความแข็งแรง คงอยู่ในระดับการปรับได้อย่างมั่นคง

7. ล้อเก้าอี้ : ควรมีล้อเก้าอี้ เพื่อให้เคลื่อนที่สะดวก ลื่นไหล ไม่ส่งเสียงดัง และควรสังเกตว่าเก้าอี้นี้จะนำไปตั้งบนพื้นแบบไหน โดยล้อแบบ PU เหมาะกับพื้นไม้ ส่วนล้อไนล่อนเหมาะกับพื้นกระเบื้อง เป็นต้น

8. ทดสอบก่อนซื้อ : ควรลองนั่งเก้าอี้ประมาณ 15-30 นาที โดยพยายามลุกนั่ง ปรับท่าทางต่าง ๆ ตามอิริยาบถการทำงานที่ทำเป็นประจำ เพื่อสังเกตว่าเมื่อนั่งเก้าอี้ทำงานนี้แล้วรู้สึกสบาย ไม่ปวดเมื่อยหรือไม่

9. เลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ : เก้าอี้นั้นมีหลายขนาด ควรเลือกขนาดที่เหมาะกับรูปร่าง นั่งได้สบาย ไม่ควรใหญ่หรือเล็กเกินไป รวมไปถึงควรดูขนาดที่ได้สัดส่วนกับโต๊ะทำงาน หรือพื้นที่ในออฟฟิศด้วย

10. เก้าอี้เพื่อสุขภาพ : ควรพิจารณาเก้าอี้เพื่อสุขภาพที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ เพื่อรองรับสรีระทุกส่วน และปรับเปลี่ยนท่าทางได้หลากหลาย และควรเลือกเก้าอี้ที่มีมาตรฐาน ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเก้าอี้ทำงานที่ดี เปรียบเสมือนอาวุธลับที่จะช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากออฟฟิศซินโดรม ดังนั้นอย่าลืมใส่ใจเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว