เทศบาลนครขอนแก่นประชุมเตรียมความพร้อมการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะฯ ประจำปี 2565

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมพระยากุมภัณฑ์ เทศบาลนครขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น มอบหมายให้ ดร.อรอนงค์ แสวงการ รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริการสาธารณะฯ ประจำปี 2565 โดยมี นางอินทิรา ฆารเจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ, นายทัศนัย ประจวบมอญ ผอ.ส่วนส่งเสริมสาธารณสุขฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนการงาน พนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ทุกสำนัก/กอง ร่วมประชุม ตามที่คณะกรรมการการประจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) มีมติเห็นชอบให้มีการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่อการประกันคุณภาพการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 8 ด้าน 53 ตัวชี้วัด รวมทั้งขั้นตอนวิธีการประเมินตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ติดตามประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเกณฑ์ชี้วัดดังกล่าว ในการนี้ เพื่อให้การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครขอนแก่น เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีผลการประเมินที่ครบถ้วน ผู้บริการเทศบาลนครขอนแก่น จึงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ สำนัก/ กองที่เกี่ยวข้อง กรอบข้อมูลการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำ การจัดบริการสาธารณะของเทศบาลนครขอนแก่น ที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด จำนวน 8 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำนักช่าง 2.ด้านผังเมือง สำนักช่าง 3. ด้านสาธารณสุข บริการทางสังคม และคุณภาพชีวิต สำนักสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม 4.ด้านการศึกษา สำนักการศึกษา 5.ด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบปลอดภัย สำนักปลัดเทศบาล 6.ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน อาชีพ การท่องเที่ยว และการลงทุน สำนักสวัสดิการสังคม 7. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และ 8.ด้านการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน และโบราณสถาน สำนักการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการวางแผน การส่งเสริม การพัฒนา การถ่ายทอดความรู้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการยกระดับคนในชุมชน กำหนดทิศทางการพัฒนา สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แสดงความคิดเห็น